วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

The King













หัวข้อ: วันที่ ๒๘ เมษายน เป็นวันราชาภิเษกสมรสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ กับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขอเชิญมาร่วมถวายพระพรค่ะ

การสมรส คือ การที่ชายและหญิงจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัว สร้างหลักฐานให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น และมีผู้สืบสกุลต่อไป ชายและหญิงที่จะมาอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกราบรื่น โดยตลอดนั้นจำเป็นต้องยึดหลักธรรมะหลายประการ เช่น คหบดีธรรม หรือธรรมะของผู้ครองเรือน ได้แก่

1. สัจจะ ซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้วางใจกัน และจริงใจต่อกัน
2. ทมะ รู้จักข่มจิต มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่แสดงความหุนหันพลันแล่น
3. ขันติ อดทน ต่อความยากลำบาก อดทนหากอีกฝ่ายหนึ่งมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออดทนต่อสิ่งไม่พอใจต่างๆ
4. จาคะ การให้ การเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันทั้งด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังปัญญา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบัญญัติถ้อยคำเกี่ยวกับการสมรสไว้เป็น 3 อย่าง คือ ข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์เรียกว่า "สมรส"พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้าเรียกว่า "เสกสมรส"เจ้าฟ้าเรียกว่า "อภิเษกสมรส"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน "ราชาภิเษก"ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัครมเหสี โดยประกาศวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ความตอนหนึ่งว่า "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า "ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว"

ในปีพ.ศ.2489 เมื่อรัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนั้น ประเทศไทยขาดพระบรมราชินีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นคือ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2492 ประชาชนชาวไทยจึงพากันตื่นเต้นยินดี ยิ่งได้ทราบว่าพระคู่หมั้นทรงมีพระสิริโฉมงดงาม มีพระปรีชาสามารถ

พสกนิกรได้รับทราบข่าวนี้ทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ด้วยความชื่นชมโสมนัส และจากนั้นมา ต่างก็ตั้งตารอคอยรับเสด็จในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครพร้อมด้วยพระคู่หมั้น

สองฟากถนนจากท่าราชวรดิษฐ์มายังถนนราชดำเนินเนืองแน่นไปด้วยผู้คนล้นหลามอย่างที่กล่าวได้ว่า "มืดฟ้ามัวดิน" เพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่ศีรษะคนเบียดเสียดกันเต็มไปหมดจนแทบจะไม่มีช่องว่างให้ยืนและเดินก็ว่าได้ ในขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่าน แต่ละคนเฝ้าแต่ชะเง้อเพื่อที่จะขอชมพระบารมีให้เป็นบุญตา

วันราชาภิเษกสมรสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ กับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งในขณะนั้นยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร

คงยังจดจำภาพแห่งความประทับใจและความปลื้มปิติของประชาชนคนไทยในช่วงเวลานั้นได้
นับตั้งแต่สำนักพระราชวังประกาศข่าวการหมั้นด้วยพระธำมรงค์ที่สมเด็จพระบรมราชชนกประทานแก่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระธำมรงค์นี้พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และอีก 1 เดือนต่อมา คือวันที่ 12 สิงหาคม ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานเลี้ยงฉลองการหมั้นเป็นลักษณะงานเล็กๆ ขึ้น ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พสกนิกรได้รับทราบข่าวนี้ทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ด้วยความชื่นชมโสมนัส และจากนั้นมา ต่างก็ตั้งตารอคอยรับเสด็จในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครพร้อมด้วยพระคู่หมั้น
สองฟากถนนจากท่าราชวรดิษฐ์มายังถนนราชดำเนินเนืองแน่นไปด้วยผู้คนล้นหลามอย่างที่กล่าวได้ว่า "มืดฟ้ามัวดิน" เพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่ศีรษะคนเบียดเสียดกันเต็มไปหมดจนแทบจะไม่มีช่องว่างให้ยืนและเดินก็ว่าได้ ในขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่าน แต่ละคนเฝ้าแต่ชะเง้อเพื่อที่จะขอชมพระบารมีให้เป็นบุญ
และจากนั้นมา กิจวัตรของชาวกรุงเทพฯ ก็คือเมื่อทราบข่าวการเสด็จพระราชดำเนินที่ไหน เมื่อใดก็จะพากันไปรอเฝ้าฯสองข้างทางที่เสด็จฯผ่านอย่างเนืองแน่น หลายต่อหลายคนถึงกับเตรียมผ้าและดาษไปปูรองนั่ง จองที่ตามริมถนนกันไว้ก่อนเวลาเสด็จฯเป็นชั่วโมง ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ เมื่อมีข่าวพูดกันต่อๆ มาว่า ในเวลาบ่ายเกือบเย็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมักทรงขับรถพระที่นั่งไปยังวังเทเวศร์เพื่อเสวยพระสุธารสชากับพระคู่หมั้นประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงตามแถบนั้น ก็จะพากันไปเฝ้ารอคอยด้วยความรู้สึกที่เปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดี แม้คนที่อยู่ไกลก็ยังอุตส่าห์นั่งรถรางหรือไม่ก็รถเมล์ไปลงยังเทเวศร์เพื่อที่จะรอเฝ้าฯ ตามริมถนนริมคลองบ้างและบริเวณใกล้เคียงวังเทเวศร์บ้าง โดยไม่คำนึงว่าเวลาจะผ่านไปจนเย็นค่ำเพียงใด

บางคนที่โชคดีก็อาจได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์แบบลำลอง คือทรงกางเกงยาวสีขาวและฉลองพระองค์เชิ้ตสีขาว ประทับ ณ พระเก้าอี้สนามหน้าพระตำหนักริมแม่น้ำเจ้าพระยากับพระคู่หมั้นซึ่งทรงฉลองพระองค์เสื้อปักลูกไม้และซิ่นไหมยาวแบบไทยเรียบร้อยงดงาม แต่ส่วนใหญ่มักได้ชื่นชมภาพประทับใจเช่นนี้ทางหนังสือพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น: