วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เกร็ดความรู้
คุณประโยชน์ของมะรุม ที่คุณอาจไม่รู้ค่ะ
สวัสดีค่ะ
นำมาให้อ่านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราค่ะ คุณประโยชน์ของมะรุมที่เรายังรู้ไม่หมด
เรื่องจริง ของน้อง มะรุมที่คุณไม่เคยสัมผัส
มีผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เม็ดเลือดขาวกินเม็ดเลือดแดง (รูคีเนีย) และปอดมีปัญหาอักเสบ ไปหาหมอ หมอก็รักษาที่ละโรค พอด! ีปวดฟันไปถอนฟัน หมอให้กินยาเพนนิสลิน ดันแพ้ยาอย่างรุนแรง จนเกิดอาการบวมและลามไปที่ไต่เกิดปัญหา หมอต้องเริ่มรักษาใหม่ของแต่ละโรคเพราะว่ายาที่รักษาแต่ละโรค จะมีเพนนิสลินเป็นส่วนประกอบ และหมอก็ให้เค้าเตรียมทำใจ
พอดีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันเป็นชาวพม่า แม่ป่วยเป็นมะเร็ง เค้าต้องการหายารักษาโรค ด้วยความหวังดีเค้ามาหาข้อมูลใน internet ให้เพื่อน และรู้ว่ามะรุมมี คุณลักษณะในการช่วย เค้าเลยหาต้นมะรุม ในสหรัฐมีคนที่ปลูกมะรุมในบ้านอยู่บ้าง ซึ่งแต่ละบ้านงกมากและไม่ยอมให้ เพราะที่สหรัฐเค้ากินกันถือว่าบ้านไหนมีต้นมะรุมเสมือนมีโรงพยาบาลที่บ้าน
ดังนั้น เค้าเริ่มปลูกต้นมะรุน และกินใบสดที่ใบไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป หรือไม่จะเก็บใบสดมาตากแห้ง (ต้องมีผ้าขาวบางคลุมเพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำไป) บดให้ละเอียดใส่แค็บซูนกินทุกเช้า
มะรุมไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง 300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้น
คว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิ! ดจนถึงวัยเจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และ ประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทย กลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน25ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย
โรคงูสวัสดิ์แม้แต่กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย
ประโยชน์คร่าวๆ จากวารสารค้นคว้าที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้คือ
1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ3 ครั้ง
5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง
6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. รักษาโรคตาเ กือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย! ซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาอ้างอิงได้หมดในที่นี้ หากสนใจท่านสามารถหาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงกำกับท้ายเอกสารฉบับนี้
วิธีใช้
ใบสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
เด็กแรกเกิด -1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ
เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก
การรับประทานสุกควรลวกแต่ พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมากใช้ทำสลัดรวมกับผักสดหรือวางบนแซนวิช
ผล รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่ ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน(เหมือนยำถั่วพลู)
สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม
แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่
ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก
ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู
แ! กงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด
แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน(จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ)
ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เหล่านี้เป็นต้น
เมล็ด สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้ รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*
กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้
ดอก ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
ใบตากแห้ง สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไ! ว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีตลอลีนและแร่ธาตุบาง จำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่อ กั นการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า3เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง
เอกสารอ้างอิง:
Nature's Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wr! ote by Mark Fritz.
WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University , Bangkok 10330 , Thailand . Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax +66-2-254-5195)
'มะรุม' เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก 'ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม' ภาคเหนือเรียก 'มะค้อมก้อน' ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก'กาแน้งเดิง' ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก 'ผักเนื้อไก่' เป็นต้น
มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMoringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae
เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย
มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนา! ดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ
ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปล ือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้
มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้! ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลา! ร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง 'ผงนัว' กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก 'มาลังเก') เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย
ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจาก! มะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์
สานเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารHelicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว
การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิด! มะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนั! กตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม
(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง
ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤืธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตัวจากยาเหล่านี้
ผลิตภัณฑ์มะรุมของต่างประเทศจะอ้างฤทธิ์รักษามากมายทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แค่ฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้นี้ก็คงเพียงพอแล้วที่คุณจะเพิ่มใบหรือฝักมะรุมในรายการอาหารของคุณมื้อกลางวันนี้
ช่วยกันปลูก ช่วยกันกิน เพื่อสุขภาพ และ สภาพแวดล้อมค่ะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น